ศัลยกรรมปลูกผมด้วยผมจริง เส้นผมสามารถขึ้นได้จริงอย่างถาวร

ศัลยกรรมปลูกผมด้วยผมจริง เส้นผมสามารถขึ้นได้จริงอย่างถาวร

การศัลยกรรมปลูก
ผมนับว่าเป็นหนทางเดียวในปัจจุบันนี้ที่ต้องยอมรับว่าสามารถทำให้ผมขึ้นถาวรและผมไม่หลุดร่วงง่ายๆด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน DHT (ดี เอช ที ) และเราต้องยอมรับว่าหลังการผ่าศัลยกรรมปลูกผมมีผลแทรกซ้อนอยู่เหมือนกัน ดังนั้นการศัลยกรรมปลูกผมไม่ได้เหมาะกับทุกๆคน ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วในเรื่องนี้
ผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าคุณจะทำศัลยกรรมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วก็ตาม แต่ไม่ต้องตกใจ ไม่ได้ร้ายแรงอะไรเพราะผู้เชี่ยวชาญสามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้ ไม่เป็นอันตรายใดๆ ผลแทรกซ้อนก็ได้แก่
- ผู้รับการศัลยกรรมจะมีอาการบวมบริเวณหน้าผากหลังผ่าตัด เนื่องจากรากผมที่นำมาปลูกใหม่มีการอักเสบ หรือ เรียกว่า Folliculitis) ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการกินยาปฏิชีวนะ

- เส้นผมงอกม้วนเข้าไปในใต้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Ingrowing hair และ อาการอักเสบเรื้อรัง มีตุ่มน้ำเกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นกับบางรากผมที่อาจจะย้ายมาปลูกลึกเกินไป ซึ่งก็ไม่มีอะไรร้ายแรง แพทย์สามารถแก้ไขได้โดยการสะกิดตุ่มน้ำหรือรากผมนั้นด้วยปลายเข็มเล็กๆ ส่วนยาปฏิชีวนะแพทย์อาจจะเป็นคนพิจารณาว่าควรกินหรือไม่แล้วแต่ละคนไป

- อาจมีเลือดออกซิบๆเล็กๆ อันนี้เราแก้ไขด้วยตัวเองได้โดยการกดบริเวณที่มีเลือดออกไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล

- การที่ผมไม่งอก ซึ่งเกิดจากความล้มเหลวในการผ่าตัด แต่ต้องหมายถึงว่าหลังผ่าตัดแล้ว ผมไม่งอกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์จึงจะถือว่าการทำงานของทีมแพทย์ศัลยกรรมล้มเหลว โดยปกติแล้วการศัลยกรรมปลูกผมที่ได้ผลควรจะมีผมขึ้นราวๆ 85 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความล้มเหลวจากการที่ผมไม่ขึ้นเป็นที่น่าพอใจนี้เราก็ต้องปรึกษาแพทย์ต่อไป เพื่อทำการแก้ไข
- แผลผ่าตัดด้านหลังไม่สวย อย่างไรก็ตามผลแทรกซ้อนนี้มักไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะจะมีผมยาวขึ้นมาปกปิดได้ แต่ถ้าศัลยแพทย์เลือกลงตำแหน่งบาดแผลสูงเกินไป แผลเป็นที่ท้ายทอยอาจจะปรากฏให้เห็นในภายภาคหน้าถ้าตำแหน่งศีรษะล้านและผม บางขยายครอบคลุมลงมา หรือถ้าเย็บแผลแล้วทำให้แผลผ่าตัดตึงมากแผลเป็นอาจจะแยกปริใหญ่ แลดูไม่สวยเพราะแผลเป็นกว้างไม่ดูเป็นแผลเป็นเส้นด้ายเล็กๆ ส่วนแผลเป็นในตำแหน่งที่ปลูกผมใหม่มักไม่เป็นปัญหาและมองไม่เห็น

- ผิวหนังศีรษะบริเวณที่ปลูกผมใหม่มีสีเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป บางคนวิตกปัญหานี้แต่ป้องกันได้ง่ายคือไม่ไปตากแดดเร็วเกินไปโดยเฉพาะช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังผ่าตัด

- อาการชาที่แผลผ่าตัดซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 6 เดือนหลังผ่าตัดและพบได้ไม่บ่อย

- ผิวหนังศีรษะตำแหน่งที่นำรากผมมาปลูกใหม่มีลักษณะขรุขระ (Cobblestoning) ส่วนใหญ่เกิดจากการปักปลูกรากผมใหม่ในตำแหน่งไม่ลึกพอ

- หัวล้านที่มาจากกรรมพันธุ์ยังคงมีการขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าเวลาจะ ผ่านไปหลายปีหลังผ่าตัด ถ้าการออกแบบแผลผ่าตัดที่ท้ายทอยทำได้ไม่ดี การจะผ่าตัดปลูกผมครั้งที่สองจะทำได้ยากมีข้อจำกัดมากขึ้น


ใครบ้างที่เหมาะจะทำศัลยกรรมปลูกผม


การเลือกคนไข้ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดจริงๆให้กับศัลยแพทย์ที่ถูกคนและถูกเวลา ถ้าทำได้เช่นนี้ผลการผ่าตัดปลูกผมถึง จะออกมาดี สวย ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด อย่าลืมว่าความคาดหวังกับความเป็นจริงหลังผ่าตัดอาจจะไม่ได้ดังใจที่คาดไว้ เพราะฉะนั้นต้องทำการศึกษาและพูดคุยกับศัลยแพทย์ของคุณให้ดี เพราะแต่ละรายที่จะทำการปลูก ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เท่ากันเพราะมีปัจจัยแวดล้อมเฉพาะบุคคลต่างกัน (X-Factor) ถ้าอยากให้ผลการศัลยกรรมออกมาดีตรงตามที่เราคิดทุกอย่าง ก็คงต้องพิจารณาถึงเหตุผลดังต่อไปนี้
1.ปริมาณเส้นผมบริเวณท้ายทอยต้องมีมากพอที่จะนำมาปลูกในตำแหน่งผมบางที่ คุณวิตก (ในคนปกติจะมีรากผมประมาณ 50-80 รากต่อหนึ่งตารางเซ็นติเมตร) อาจจะไม่ปลูกทุกตำแหน่งที่บางก็ได้

2.มีอายุมากกว่า 30 ปี และบริเวณที่ผมบางและศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกแล้ว (ถ้าอายุ 40 แต่ตำแหน่งผมบางยังขยายตัวไม่นิ่ง 3-4 ปีต่อเนื่อง ก็ไม่เหมาะสำหรับการผ่าตัดปลูกผม) เพราะถ้าการขยายตัวของขอบเขตแนวผมบางยังเพิ่มขึ้นอยู่การปลูกผมจะเสียเปล่า เพราะขณะที่ศัลยแพทย์ทำการปลูกผมให้จะปลูกเฉพาะในตำแหน่งที่มองเห็นว่าผมบาง ชัดเจน ตำแหน่งที่ยังมีผมอยู่และยังไม่บางศัลยแพทย์จะไม่ทำการปลูก เพราะฉะนั้นในภายภาคหน้าหลังทำการปลูกผมในขณะที่การขยายตัวของแนวผมบางยัง ไม่นิ่งพอ ปัญหาเรื่องศีรษะล้านผมบางก็จะตามมาอีก และการผ่าตัดปลูกผมครั้งที่สองทำได้ยากกว่า

3.ตำแหน่งที่ผมบางมักจะเกิดขึ้น 3 ตำแหน่ง คือ หน้าผากร่นสูงขึ้นซ้ายและขวา, กลางศีรษะด้านบน และตำแหน่งขวัญ (Crown area) ถ้ามีปัญหาเพียง 2 ตำแหน่งใดๆดังกล่าวหรือเป็นเพียงตำแหน่งเดียวโดดๆ จะเหมาะกับการผ่าตัดปลูกผมมาก

4.ผู้ที่พึ่งจะเริ่มมีอาการผมร่วงผมบางเพียงครั้งแรกครั้งเดียวไม่ควรใช้ การศัลยกรรมปลูกผมเป็นการรักษาเลย ผู้ที่มีปัญหาผมร่วงผมบางมานานเกินกว่า 5 ปี ใช้ยารักษามากินๆหยุดๆ เป็นๆหายๆมาจนเบื่อการรับประทานยาร่วมกับการไม่มีการขยายตัวของแนวผมบางแล้ว เหมาะมากสำหรับการทำศัลยกรรมปลูกผม

หลังจากที่ทำศัลยกรรมปลูกผมจำเป็นต้องกินยาต่อหรือไม่

เรื่องนี้คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการทำศัลยกรรมปลูกผมยังคงเป็นการตาม แก้ไขปัญหาผมบางที่ปลายเหตุ ต้นเหตุที่สำคัญคือเรื่องกรรมพันธุ์ซึ่งไม่สามารถเอาชนะได้ ตราบใดที่ปัญหาผมร่วงผมบางยังดำเนินไม่ถึงจุดอิ่มตัวและคุณยังคงมีข้อวิตก เกี่ยวกับปัญหาผมบางที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ปัญหาที่แท้จริงก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแบบเบ็ดเสร็จ หลังทำศัลยกรรมปลูกผมแล้วอาจจะต้องกลับมากินยาเพื่อประคองในส่วนที่ไม่ได้ รับการผ่าตัดปลูกผมเพื่อให้คงสภาพอยู่ได้ ในบางรายถ้าเลือกผู้ที่เหมาะสมกับการผ่าตัดได้ถูกช่วงเวลาในการทำศัลยกรรม หลังผ่าตัดปลูกผมแล้วไม่มีความจำเป็นต้องกินยารักษาผมร่วงต่ออีกเลย